ไม้พยุง
“พะยูง” เป็นไม้เนื้อแข็งเช่นเดียวกับไม้สัก
ตะเคียน มีชื่อและความหมายดี เชื่อว่าบ้านใดปลูกไว้ประจำบ้าน จะทำให้บุคคลในบ้านมีแต่ความเจริญ
มีฐานะดีขึ้น ช่วยไม่ให้ชีวิตตกต่ำ เพราะพยุงคือการประคับประคองให้คงอยู่
ให้มั่นคงหรือการยกให้สูงขึ้น
ต้นพะยูงจัดเป็นไม้มงคลที่ใช้ในการก่อสร้างอาคาร
หรือก่อฐานประดิษฐ์ถาวรวัตถุต่างๆ คนไทยจัด ลำดับ ” พะยูง”
ให้อยู่ใน 9
ชนิดไม้มงคลที่ควรปลูกไว้ในบ้าน ประกอบด้วย ชัยพฤกษ์, ราชพฤกษ์,
ทองหลวง, ไผ่สีสุก,
กันเกรา, ทรงบาดาล,
สัก, พะยูง,
ขนุน
กระทั่งมีกลอนบทหนึ่งที่กล่าวถึงไม้มงคลทั้ง 9
ในส่วนของไม้พะยูงว่า
“ไม้พะยูง พยุงฐานะงานทำนั้น
ให้คงมั่นพลันยิ่งทุกสิ่งที่ ปลูกไว้กันนั้นคุณจุนเจือมี ไม้ดีดีไม่ดูดายขยายไป”
พะยูงเป็นไม้ยืนต้น สูงประมาณ 15-25 เมตร
เปลือกสีเทาเรียบเรือนยอดทรงมักขึ้นอยู่ในป่าดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณชื้นทั่วไป
โดยเฉพาะทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือลมหรือรูปไข่ผลัดใบในหน้าแล้งและภาคตะวันออก
ส่วนเนื้อไม้ที่ได้จะมีสีแดงอมม่วงถึงแดงเลือดหมูแก่
เนื้อละเอียดแข็งแรงทนทาน ขัดและชักเงาได้ดีใช้ทำเครื่องเรือน เกวียน
เครื่องกลึงแกะสลัก ทำเครื่องดนตรี เช่น ซอ ขลุ่ย ลูกระนาด และแม้แต่ ช้อน ส้อม
เวลานี้จึงถือว่าไม้พะยูงเป็นไม้ที่ราคาแพงมากที่สุดในโลกและแพงกว่าไม้สักซึ่งราคาลูกบาศก์เมตรละไม่กี่หมื่นบาทเท่านั้น
ส่วนสาเหตุที่ไม้พะยูงมีราคาพุ่งสูงมาก
เนื่องจากมีความนิยมในการใช้ไม้ชนิดนี้ในประเทศจีนอย่างมาก
โดยเริ่มจากการนำเข้าไม้ชนิดนี้ไปซ่อมแซมพระราชวังต้องห้าม
ในช่วงการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ในปี 2551
ต่อมาก็มีความนิยมนำไม้พะยูงไปแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์
แต่ระยะหลังไม้พะยูงมีราคาพุ่งสูงขึ้นมาก
ทางนายทุนจึงหันมาทำเป็นวัตถุมงคลและของแต่งบ้านชิ้นเล็ก
ๆ เช่น ตัวปี่ เทพเจ้า แทน
อย่างไรก็ตามในส่วนของคนไทยไม่นิยมใช้ประโยชน์จากไม้พะยูง
เพราะมีความเชื่อบางอย่าง จึงไม่นำไม้พะยูงมาทำเป็นไม้กระดาน เตียงนอน
และบันไดบ้าน ใช้เพียงทำรั้วบ้านเท่านั้น สำหรับไม้พะยูงนั้นเป็นไม้เนื้อแข็ง
ตระกูลเดียวกับไม้แดง ไม้ประดู่
ที่สำคัญในเวลานี้ไม้พะยูงถือว่าเหลือเฉพาะในประเทศไทยเพียงแห่งเดียวในโลก
เพราะประเทศลาวที่เคยมีก็หมดไปแล้ว
ไม้พะยูงหรือพยุง
"พะยูง" เป็นไม้เนื้อแข็งเช่นเดียวกับไม้สัก
ตะเคียน มีชื่อและความหมายดี เชื่อว่าบ้านใดปลูกไว้ประจำบ้าน จะทำให้บุคคลในบ้านมีแต่ความเจริญ
มีฐานะดีขึ้น ช่วยไม่ให้ชีวิตตกต่ำ เพราะพยุงคือการประคับประคองให้คงอยู่
ให้มั่นคงหรือการยกให้สูงขึ้น
ต้นพะยูงจัดเป็นไม้มงคลที่ใช้ในการก่อสร้างอาคาร หรือก่อฐานประดิษฐ์ถาวรวัตถุต่างๆ
เช่น พิธีก่อหรือว่างศิลาฤกษ์ การปลูกควรปลูกในวันเสาร์ ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
คนไทยจัด ลำดับ " พะยูง" ให้อยู่ใน 9
ชนิดไม้มงคลที่ปลูกไว้ในบ้าน ประกอบด้วย ชัยพฤกษ์, ราชพฤกษ์,
ทองหลวง, ไผ่สีสุก,
กันเกรา, ทรงบาดาล,
สัก, พะยูง,
ขนุน
กระทั่งมีกลอนบทหนึ่งที่กล่าวถึงไม้มงคลทั้ง 9
ในส่วนของไม้พะยูงว่า
ไม้พะยูง พยุงฐานะงานทำนั้น
ให้คงมั่นพลันยิ่งทุกสิ่งที่
ปลูกไว้กันนั้นคุณจุนเจือมี
ไม้ดีดีไม่ดูดายขยายไป
พะยูงเป็นไม้ยืนต้น สูงประมาณ 15-25 เมตร
เปลือกสีเทาเรียบเรือนยอดทรงมักขึ้นอยู่ในป่าดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณชื้นทั่วไป
โดยเฉพาะทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลมหรือรูปไข่ผลัดใบในหน้าแล้งและภาคตะวัน ออก
ออกดอกประมาณเดือน พ.ค.-ก.ค. และออกฝักแก่ราวเดือน ก.ค.-ก.ย.
การขยายพันธุ์ ต้องนำเมล็ดมาแช่ในน้ำเย็น 24
ชั่วโมง แล้วเพาะในกระบะเพาะหว่านให้กระจายทั้งกระบะเพาะ แล้วโรยทราย กลบเบาๆ
รดน้ำให้ชุ่ม เมล็ดจะงอกภายใน 7 วัน เมื่อกล้าไม้ อายุ 10 -14
วัน ความสูงประมาณ 1 นิ้ว มีใบเลี้ยง 1
คู่สามารถย้ายชำในถุงหรือภาชนะที่เตรียมไว้ได้
ส่วนเนื้อไม้ที่ได้จะมีสีแดงอมม่วงถึงแดงเลือดหมูแก่ เนื้อละเอียดแข็งแรงทนทาน
ขัดและชักเงาได้ดีใช้ทำเครื่องเรือน เกวียน เครื่องกลึงแกะสลัก ทำเครื่องดนตรี
เช่น ซอ ขลุ่ย ลูกระนาด และแม้แต่ ช้อน ส้อม ด้วยเป็นต้น โดยทั่วไป
ชาวบ้านที่ลักลอบตัดจะได้ค่าจ้างท่อนละ 200-300
บาท บางรายนายทุนดาวน์รถกระบะให้และให้ชาวบ้านผ่อนคืนเป็นไม้พะยูงเมื่อมาถึงใน
เมืองการขายเบื้องต้นในราคากิโลกรัมละ 800
บาท คิว ละ 2
แสนบาทแต่เมื่อส่งออกราคาจะแพงขึ้นไปอีกหลายเท่าตัว
ไม้พะยูงเคยทำพิษถึงขั้นทำให้นายฉัตรชัย รัตโนภาส อธิบดีกรมป่าไม้
ถูกย้ายฟ้าผ่ามาเป็นผู้ตรวจราชการ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)
มาแล้ว เมื่อเดือน ส.ค.2549 หลังมีการจับกุมไม้พะยูงพันท่อนที่ส่งจาก
จ.มุกดาหาร ข้ามไปยังประเทศสปป.ลาว เคยมีการเสนอแนวทางแก้ปัญหาการลักลอบตัดและขายด้วยการขึ้นทะเบียนเป็นไม้หวงห้ามแต่ยังไม่ได้ดำเนินการก็เปลี่ยนรัฐบาล
ทำให้การลักลอบตัดและขายไม้พะยูงยังเกิดขึ้นไม่เว้นแต่ละวัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น