ต้นเต็ง

ป่าเต็งรังเป็นป่าผลัดใบที่มีไม้วงศ์ยางบางชนิดเป็นไม้เด่น
ได้แก่
เต็ง
รัง
เหียง
พลวง
และยางกราด
โดยทั่วไปความหนาแน่นของต้นไม้ในป่าเต่งรังจะน้อยกว่าป่าเบญจพรรณ
เพราะดินตื้นกักเก็บน้ำได้น้อย
มีหินบนผิวดินมาก
ก่อให้เกิดความแห้งแล้ง
ป่าเต็งรังเป็นสังคมพืชเด่นของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกิดขึ้นที่ระดับความสูงประมาณ
50-1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล
มีช่วงแห้งแล้งจัดเกิน
4 เดือนต่อปี ประกอบกับปริมาณน้ำฝนตกน้อยคือ
900-1,200 มิลลิเมตรต่อปีเท่านั้น
ธันวาคมถึงเดือนมีนาคม เนื่องจากไฟเป็นตัวจัดการโครงสร้างป่าและคัดเลือกพันธุ์ไม้ ต้นฤดูแล้งใบไม้ในป่าเต็งรังจะพร้อมใจกันผลัดใบเป็นสีแดง เหลือง ส้ม อย่างสวยงาม แล้วจะสลัดใบทิ้งจนหมดกลายเป็นเชื้อเพลิงชั้นดี หลังจากไฟผ่านไปพื้นป่าจะโล่งเตียน แต่เมื่อได้รับน้ำฝน ป่าเต็งรังก็จะกลับเขียวสดขึ้นอีกครั้งด้วยหญ้าระบัด ดึงดูดสัตว์กินพืชหลายชนิดเข้ามาสู่ป่าเต็งรัง อาทิ วัวแดง กวางป่า เก้ง กระทิง กระต่ายป่า ความร้อนจากไฟยังช่วยไล่แมลงบนพื้นดินหรือใต้เปลือกไม้ให้เผยตัวออกมา กลายเป็นอาหารอันอุดมสมบูรณ์ของเหล่านกกินแมลงนานาชนิดอีกด้วย ปัจจุบัน ป่าเต็งรังในประเทศไทยมีความเสื่อมโทรมลงมาก เพราะการตัดไม้ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจออกไปใช้งาน สัตว์เลี้ยงพวกวัวควายเข้าไปหากินในป่าเหยียบย่ำทำลายพันธุ์ไม้ต่าง ๆ รวมทั้งผลกระทบจากไฟป่าที่เกิดขึ้นมักรุนแรงเกินกว่าป่าจะฟื้นตัวได้ทัน
ต้นไม้ในป่าเต็งรังจำเป็นต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่มีไฟป่า
โดยมีการปรับตัวดังนี้
1. การมีเปลือกหนา
เพื่อไม่ให้ไฟไหม้เข้าไปถึงเนื้อไม้
2.
จัดช่วงเวลาการออกดอกและโปรยเมล็ดให้ปลอดอันตรายจากไฟป่า
3. อาศัยไฟป่าช่วยในการงอกของเมล็ด
เช่น มะค่าแต้ มะค่าโมง
4.
ไม้บางชนิดจะโปรยเมล็ดหลังฤดูไฟป่าเนื่องจากเมล็ดสามารถตกลงถึงพื้นดินโดยไม่ได้ค้างอยู่บนยอดไผ่เพ็ก
5.
กล้าไม้ของพันธุ์ไม้ในป่าเต็งรังและป่าผสมผลัดใบส่วนใหญ่มักจะสร้างรากให้แข็งแรงในดินก่อนการ
สร้างลำต้นที่เรียกกันว่า “burn
back phenomina” ตลอดจนการทำให้ต้นแกร่ง (hardenning)ป่าเต็งรังกับไฟป่าจึงเป็นของคู่กันเสมอ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น