ไม้ต้นขนาดใหญ่ มีรากเสริมออกมาเหนือโคนต้น
รากค้ำยันลำต้นแตกแขนงระเกะระกะไม่เป็นระเบียบ ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก
ใบคู่ล่างๆ จะร่วงไปเหลือแต่คู่ใบ 2-4 คู่
เป็นกลุ่มที่ปลายกิ่ง รูปรี แผ่นใบหนา หูใบแคบ
ปลายแหลมยาวประกบกันเป็นคู่ระหว่างคู่ใบ ช่อดอกสั้นมาก
ออกตามง่ามใบที่ใบร่วงไปแล้ว ดอกตูมรูปไข่ ใบประดับที่ฐานดอกติดกันคล้ายรูปถ้วย
กลีบเลี้ยง 4 กลีบ กลีบดอก 4 กลีบ ร่วงง่าย ผลคล้ายรูปไข่กลับสีน้ำตาลคล้ำ
ผิวค่อนข้างขรุขระ ลำต้นใต้ใบเลี้ยงรูปทรงกระบอก เรียวโค้งเล็กน้อย
มีขนาดโตขึ้นที่ส่วนปลาย ผิวเป็นมัน สีเขียวหรือเขียวอมม่วง
ค่อนข้างเรียบหรือมีตุ่มขรุขระกระจัดกระจาย
ประโยชน์
ใช้ทำเสาและหลักในที่น้ำทะเลขึ้นถึง มีความทนทาน
ใช้ทำกลอนหลังคาจาก รอด ตง อกไก่ของบ้านตามชายทะเล
ใช้ทำถ่าน เปลือกให้น้ำฝาดประเภท catechol
ให้สีน้ำตาล ใช้ย้อมผ้า แห อวน หนัง ฯลฯ น้ำจากเปลือกใช้ชะล้างแผล
ห้ามเลือด กินแก้ท้องร่วง แก้บิด
โกงกางใบเล็ก
หลายคนอาจจะไม่รู้จักไม้โกงกางเท่าใดนัก
ถ้าพูดถึงการนำมาใช้เป็นประโยชน์แล้วละก็ ในอดีต เมื่อป่าชายเลนยังอุดมสมบูรณ์
ไม้โกงกาง เป็นไม้ที่นำมาผลิตเป็นถ่าน ที่มีคุณภาพสูง ให้ไฟที่มีความร้อนสูง
ไม้โกงกางที่นิยมนำมาเผาถ่านในบ้านเรา ได้แก่โกงกางใบเล็ก และ โกงกางใบใหญ่
แต่ในที่นี้จะกล่าวถึง โกงกางใบเล็ก ซึ่งจะขึ้นอยู่ในดิน บริเวณที่
ค่อนข้างตื้นกว่าโกงกางใบใหญ่ บริเวณที่ต้นโกงกางใบเล็ก ขึ้น
จะมีน้ำทะเลท่วมถึงสม่ำเสมอ โดยเฉพาะพื้นที่ที่ ติดทะเล ปากแม่น้ำลำคลอง
พบขึ้นกระจายตามป่าชายเลนของประเทศไทย
จากการศึกษาของ ผู้เชี่ยวชาญ ด้านป่าชายเลน พบว่า ในภาคตะวันออก
แถบจังหวัด จันทบุรี พบต้นโกงกาง ทั้งใบเล็ก และ ใบใหญ่ ในบริเวณเขตนอกสุด
ที่ติดต่อกับริมฝั่งแม่น้ำ ส่วนในภาคใต้ ฝั่งอ่าวไทย ซึ่งประกอบไปด้วย จังหวัด
ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ลงไปจนถึง จังหวัดปัตตานี
จะพบโกงกางขึ้นอยู่ด้านนอกสุด ยกเว้นแถบจังหวัดชุมพร จะพบต้นโกงกางใบเล็ก
ขึ้นอยู่ถัดจาก แสม และ ลำพู ซึ่งในฝั่งอันดามัน ต้นโกงกางใบเล็ก
จะขึ้นอยู่ในบริเวณหลังแนวเขต ของไม้เบิกนำ ยกเว้นในจังหวัดกระบี่ จะพบต้นโกงกาง
ขึ้นอยู่เป็นแนวแรก
โกงกางใบเล็ก เป็นไม้ไม่ผลัดใบขนาดกลาง - ใหญ่ อาจจะมีความสูงตั้งแต่ 20 -40 เมตร มีเปลือกชั้นนอกสีเทาดำ
ผิวเปลือกเรียบ หรือแตก เป็นร่องเล็ก ตามความยาวของลำต้นเด่นชัด เรือนยอด รูปปิระมิด
รอบๆ บริเวณโคนต้น มีรากค้ำจุน ทำหน้าที่พยุง ลำต้น และ มักมีรากอากาศ
ซึ่งเกิดจากกิ่งตอนบน . ใบของโกงกางใบเล็ก เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับทิศทางกัน
รูปรี หรือรูปขอบขนานแกม ปลายใบมีติ่งแหลม หูใบที่ปลายยอดมีสีชมพูอ่อน ถึงแดง
ท้องใบมีจุดสีดำเล็กๆ กระจายอยู่เต็มท้องใบ ,
ดอก
จะมีกลีบเลี้ยงสีเขียวอมเหลือง 4 กลีบ เว้าเข้า
ด้านในแหลม กลีบดอกก็มี 4 กลีบ เช่นกัน
ผลของโกงกางใบเล็ก เป็นรูปชมพู่ ผิวหยาบ ยาว 2 - 3 ซม. มีสีน้ำตาล จะงอกตั้งแต่อยู่บนต้น
เพื่อให้ต้นอ่อนสามารถตั้งตัวได้เร็ว เพราะบริเวณป่าชายเลน
จะมีความผันแปรจาก
กระแสน้ำขึ้น น้ำลง อยู่ตลอดเวลานั่นเอง ทำให้เมล็ดพืชต้องมีการปรับตัว
เพื่อให้ตั้งตัวได้เร็วยิ่งขึ้น กว่าพืชบนบก นอกเหนือจากการนำมาเผาถ่านแล้ว
ประโยชน์ของเนื้อไม้โกงกาง ยังมีอีกนานา ประการ เช่น การนำไปทำเสาเข็ม , คุณสมบัติของ เนื้อไม้โกงกางใบเล็ก
สามารถนำมาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ ได้ดีเช่นกัน
อีกทั้งไม้โกงกางยังมีคุณสมบัติเป็นยาสมุนไพรด้วย นอกจาก
ประโยชน์ทางตรงแล้ว
ต้นโกงกางที่ขึ้นอยู่เป็นแถวเป็นแนวนั้น ยังสามารถ ช่วยชะลอความเร็วของลม และ
ช่วยป้องกันการกัดเซาะบริเวณชายฝั่ง และ ปากแม่น้ำ ที่เกิดจากกระแสน้ำ
ที่แปรเปลี่ยนตลอดเวลา ดังนั้น ในปัจจุบัน จึงมีการปลูกป่าชายเลน โดยใช้ต้นโกงกาง
เพื่อการอนุรักษ์ชายฝั่งทะเล และ เพื่อเป็น แหล่งอนุบาลให้กับสัตว์น้ำต่างๆ
ในป่าชายเลน อีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น